>>>สวัสดีค๊า<<< ยินดีต้อนรับเพื่อนๆเข้าสู่ http://tech-phatthiya.blogspot.com/ แนะนำตัวนิดนึงน๊า เค้าชื่อ ฝน ตอนนี้เรียนครุศาสตร์ สาขาคณิตศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช ::: มีอะไรติชม สอบถาม ปรึกษา ได้นะค่ะ ไม่หยิ่งๆค่ะ ::: ขอบคุณนะค่ะที่เข้ามารับชม ^______________^

วันจันทร์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

การแก้โจทย์ปัญหา


การสร้างรูปสามเหลี่ยมมุมฉาก


การสร้างรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่ว


การสร้างสี่เหลี่ยมรูปว่าว


การสร้างรูปสามเหลี่ยมด้านเท่า


การสร้างรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส


การแก้สมการ


การสร้างรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า


วันจันทร์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

การสร้างรูปเรขาคณิตสองมิติ (วงกลม)


การเขียนตัวเลขไทยและตัวเลขฮินดูอารบิก


แผนผังความคิดกลุ่มสาระคณิตศาสตร์


อัตราส่วนและมาตรส่วน


                                                 
อัตราส่วน
            อัตราส่วน   คือ การเปรียบเทียบของสิ่งหนึ่งต่อของอีกสิ่งหนึ่งมี  หน่วยอย่าง เดียวกัน   เช่น  a : b อ่านว่า a ต่อ b  หรือ  a/b
            ตัวอย่าง กบมีปากกา 5 ด้าม กิ้มมีปากกา 4 ด้าม อัตราส่วนระหว่างจำนวนปากกาของกบต่อจำนวนปากกาของกิ้ม เป็น 5 ต่อ 4  ซึ่งเขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ 5 : 4 หรือ 

  
                                               มาตราส่วน
                  มาตราส่วน  หมายถึง อัตราที่ใช้ย่อหรือขยายส่วน   การเขียนแบบโดยทั่วไป ภาพที่เขียนแบบจะมีขนาดที่สัมพันธ์พอเหมาะกับขนาดกระดาษเขียนแบบเสมอ เมื่อมองภาพแล้วเห็นรายละเอียดได้ชัดเจนสมบูรณ์ ฉะนั้นการเลือกใช้มาตราส่วนที่เหมาะสมกับขนาดกระดาษเขียนแบบ ผู้เขียนแบบจึงต้องควรคำนึงถึงมาก   มาตราส่วน แบ่งออกเป็น 3 ชนิด
                 1. มาตราส่วนย่อ  เช่น 1 : 10 อ่านว่า  หนึ่งต่อสอบ  หมายถึง ของจริง 10 ส่วน เขียนลงในกระดาษเขียนแบบ 1 ส่วน
                  2. มาตราส่วนขยาย  เช่น 10 : 1 อ่านว่า  สิบต่อหนึ่ง  หมายถึง ของจริง 1 ส่วน เขียนลงในกระดาษเขียนแบบ 10 ส่วน
                  3. มาตราส่วนเท่าของจริง  เช่น 1 : 1 อ่านว่า  หนึ่งต่อหนึ่ง  หมายถึง ของจริง 1 ส่วน เขียนลงในกระดาษเขียนแบบ 1 ส่วน


เทคนิคการใช้กระดานดำ

 เทคนิคการใช้กระดานดำ

เทคนิคการใช้กระดานดำ   หมายถึง  กลวิธีในการเขียนหรือวาดตัวอักษร  ตัวเลข  ภาพ  สัญลักษณ์   หรือลายเส้นต่างๆ  บนกระดานที่ใช้เป็นอุปกรณ์การสอน ได้อย่างมีระบบ  สะอาด  เรียบร้อย  ดูแล้วสวยงาม   และเข้าใจง่าย

เทคนิคการใช้กระดานดำ
1. ก่อนใช้กระดานดำควรคำนึงถึงความสะอาด ซึ่งจะทำให้เขียนได้ชัดเจนและน่าอ่าน
2. ต้องเขียนให้หนังสือมีขนาดพอเหมาะ อ่านง่าย ชัดเจน เป็นระเบียบ ไม่ชิดกัน หรือเขียนตัวหวัดจนเกินไป
3. ควรเริ่มเขียนจากด้านซ้ายของกระดานดำไปทางขวา
4. ควรเน้นจุดสำคัญโดยการใช้ชอล์กสีหรือขีดเส้นใต้ และควรเขียนชื่อเรื่องไว้กลางกระดานดำ
5. เลือกสีของชอล์กให้เหมาะกับพื้นของกระดานดำ และการเน้นส่วนสำคัญ
6. เวลาเขียนควรกวาดสายตาให้ตรงตามบรรทัดไม่เขียนขึ้นๆ ลงๆ
7. เลือกเขียนเฉพาะหัวข้อและใจความสำคัญ ไม่ควรเขียนให้มากและแน่นจนเกินไป
8. เมื่อเขียนเสร็จจะต้องตรวจดูความถูกต้องอีกครั้งหนึ่ง เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีของนักเรียน
9. ควรเขียนกระดานโดยเอียงตัวเข้าหา จะได้ไม่ต้องบังข้อความที่เขียนไว้แล้ว
10. เมื่อจะสอนเรื่องใหม่ ควรลบข้อความเนื้อหาเดิมให้หมดเสียก่อนเพื่อให้ข้อความที่เขียนจากเนื้อหาใหม่เป็นที่น่าสนใจ
11. ใช้ภาพการ์ตูนลายเส้นประกอบการสอนจะทำให้การอธิบายของครูน่าสนใจมาก
12. ควรแบ่งกระดานดำออกเป็นส่วนๆ ตามความยาว แล้วเขียนให้หมดเป็นส่วนๆ ไป ไม่ควรเขียนตรงนั้นทีตรงนี้ที เพราะจะทำให้นักเรียนสับสน
13. เปิดโอกาสให้นักเรียนได้มีส่วนร่วมในการใช้กระดานดำด้วย เพระจะช่วยให้นักเรียนเกิดความภาคภูมิใจ
14. การเขียนควรจับชอล์กทำมุม 45 องศากับกระดานดำ ใช้ปลายนิ้วชี้กดปลายชอล์กไว้
15. ในกรณีที่ต้องเขียนรูปทรงเรขาคณิต ควรใช้เครื่องมือช่วย จะทำให้การเขียนประณีตเรียบร้อย ชัดเจน
16. ขณะอธิบายข้อความบนกระดานดำ ครูควรชิดไปทางด้านใดด้านหนึ่งของกระดานดำให้ใช้ไม้ชี้ ไม่ควรใช้มือชี้ และไม่หันหลังให้นักเรียนขณะอธิบายประกอบ
17. การเขียนข้อความที่อยู่ด้านล่างของกระดาน ให้ย่อตัวลงไปเขียน ไม่ใช่โค้งตัวไปเขียน
18. ขณะฝึกเขียนใหม่ๆ อาจใช้ชอล์กทำเส้นประให้เป็นแนวตรง เมื่อเขียนคล่องแล้วก็ไม่ต้องใช้เส้นช่วย
19. ถ้าสอนนักเรียนที่เริ่มหัดเขียน ครูต้องเขียนคัดตัวบรรจงเพื่อเป็นแบบอย่างที่ดี
20. ควรลบกระดานดำให้เรียบร้อยเมื่อหมดคาบเรียน และไม่ควรใช้มือลบกระดานดำ แต่ควรใช้แปลงลบกระดาน หรือผ้า

ข่าวบันเทิง

สัตว์เลี้ยง

กด More เพื่อให้อาหารค่ะ :::อย่าลืมให้อาหารสัตว์เลี้ยงกันเยอะๆนะค่ะ